1135 จำนวนผู้เข้าชม |
ความได้เปรียบด้านความหลากหลายของวัตถุดิบ
ชาผู่เอ๋อร์เป็นชาที่ผลิตจากใบชาแห้งขนาดใหญ่ที่ปลูกภายในมณฑลยูนนานผ่านกระบวนการและเทคนิคเฉพาะจนกลายมาเป็นชาผู่เอ๋อร์ ซึ่งใบชาขนาดใหญ่ถือเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตชาผู่เอ๋อร์และเมื่อเปรียบเทียบกับใบชาขนาดเล็กแล้ว โครงสร้างของใบชาขนาดใหญ่มีจุดเด่นดังนี้
- โครงสร้างใบชาขนาดใหญ่
เนื้อเยื่อผิวที่บางเนื่องจากชาเป็นพืชประเภทปลูกอยู่บนภูเขา จะมีเนื้อเยื่อผิวอยู่หนึ่งชั้นมีหน้าที่คอยป้องปกใบและต้านทานการเปลี่ยนแปลงของ สภาพแวดล้อม กล่าวคือ หากสภาพแวดล้อมแย่หรือเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเนื้อเยื่อที่ผิวมักจะหนา, หากอุณหภูมิเหมาะสมกับพืชเนื้อเยื่อผิวก็จะบาง
เนื้อเยื่อผิวที่บางนอกจากจะมีผลดีในแง่ของการสังเคราะห์แสงแล้ว ยังมีผลในการสะสมสารอาหารต่างๆ ทำให้ได้ชาที่คุณภาพดี ขณะเดียวกันเนื้อเยื่อผิวที่บางยังส่งผลดีต่อการผลิตชาและแปรรูปใบชาอีกด้วย
หน้าใบที่กว้างและแผ่นใบชาที่บาง เมื่อเปรียบเทียบกับใบชาขนาดกลางและ ขนาดเล็กแล้ว ใบชาขนาดใหญ่มีขนาดความกว้างของหน้าใบมากกว่า 2-3 เท่า และยิ่งแผ่นใบมีความบางมากความกว้างของหน้าใบยิ่งมากตามไปด้วยสารคลอโรพลาสต์ ซึ่งมีหน้าที่ในการสังเคราะห์แสงของพืชก็จะมีปริมาณเยอะ
สารคลอโรพลาสต์ (Chloroplast) ในใบชาขนาดใหญ่มีประมาณ 60-100 กรานา (grana) ขณะที่ใบชาขนาดเล็กมีเพียง 20-30 กรานา (grana) ทำให้คุณสมบัติในการสังเคราะห์แสงมีประสิทธิภาพสูง ช่วยในการรับแสงรวมถึงเพิ่มการผลิตสารโพลีฟีนอล(Pholyphenol) ในใบชา นอกจากนี้ยังเพิ่มการสะสมของสารคาเฟอีน (caffeine)ที่ทำให้มีรสชาติเข้มข้น ส่วนแผ่นใบชาที่บางจะมีความอ่อนนุ่มกว่าปกติและมีปริมาณกรดอะมิโน(amino acid)สูงทำให้ใบชามีความสดใหม่
มีองค์ประกอบของแพลิเซดเซลล์ (PALISADE CELL)หรือเนื้อเยื่อฟองน้ำ ขนาดของใบชาจะมีปริมาณเนื้อเยื่องฟองน้ำที่ต่างกัน โดยในใบขนาดใหญ่จะมีเนื้อเยื่อฟองน้ำ สัดส่วน 1:2 หรือ 1:3 ขณะที่ใบชาขนาดเล็กจะมีเพียง 1:1 หรือ 1:1.5 โดยใบชาที่มีสัดส่วนของเนื้อเยื่อห้องน้ำเยอะส่งผลดีต่อการผลิตปริมาณโพลีฟีนอล(Pholyphenol) คาเฟอีน (caffeine)และสารอื่น ๆ ซึ่งสารเหล่านี้ทำให้ชามีรสชาติที่เข้มข้น อีกทั้งใบชาที่มีขนาดใหญ่จะมีองค์ประกอบของเนื้อเยื่อฟองน้ำที่มีขนาดเล็ก จึงทำให้ชาที่ได้สามารถชงดื่มได้ซ้ำหลายครั้ง
- องค์ประกอบของสารในชาใบใหญ่
ปริมาณส่วนประกอบของสารโพลีฟีนอล(Pholyphenol) กรดอะมิโน(amino acid)และคาเฟอีน (caffeine)เป็นคุณลักษณะสำคัญที่สุดของสายพันธุ์ชา โดยวิธีการสังเคราะห์แสงและคุณสมบัติทางชีวเคมีของชาที่แตกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับโครงสร้างและปริมาณของสาร 3 องค์ประกอบข้างต้น
ใบสดของใบชาขนาดใหญ่มีองค์ประกอบของสารโพลีฟีนอลค่อนข้างสูง และมีสารประกอบคาเทชิน (Catechin)คิดเป็น70% ของสารโพลีฟีนอล(Pholyphenol)ขณะที่ใบสดของใบชาขนาดเล็กจะมีปริมาณของสารโพลีฟีน(Pholyphenol)อยู่ในระดับต่ำส่งผลให้ใบชามีรสชาติที่กลมกล่อม อมหวาน ชุ่มชื่น สามารถชงดื่มได้หลายครั้ง และยังมีประสิทธิภาพในการต่อต้านอนุมูลอิสระสูงด้วย
สารโพลีฟีนอล(Pholyphenol) กรดอะมิโน(amino acid)และคาเฟอีน (caffeine)เป็นองค์ประกอบหลักทางกายภายและทางเคมีของใบชา โดยคุณสมบัติของสารโพลีฟีนอล(Pholyphenol)คือ ให้รสขมและเมื่อรวมกับออกไซด์ (Oxid)ทำให้น้ำชามีรสชาติสดชื่น ส่วนกรดอะมิโน (amino acid) ทำให้ชามีรสชาติสด อมหวานเมื่อรวมกับสารคาเฟอีน (caffeine)จะเกิดสารหลักที่ทำให้ชามีรสชาติสดชื่น ขณะที่คุณสมบัติของคาเฟอีน (caffeine) ทำให้เกิดรสขม เมื่อรวมกับสารทีฟาวิน (Theaflavin) ยิ่งทำให้ชามีรสชาติสดชื่นมากขึ้น ถือเป็นสารประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดรสชาติของน้ำชา
และแม้ว่าทางทฤษฎีพบว่าใบชาขนาดใหญ่มีกรดอะมิโน (amino acid) ในปริมาณน้อยกว่าใบชาขนาดเล็ก แต่เนื่องจากสภาพภูมิอากาศของยูนนานที่ปกคลุมด้วยหมอก ดังนั้นปริมาณกรดอะมิโน (amino acid) ในใบชาที่มีอยู่จึงไม่น้อยไปกว่าใบชาขนาดเล็กทำให้ชาผู่เอ๋อร์ดื่มแล้วรู้สึกสดชื่น อุดมไปด้วยคุณประโยชน์