998 จำนวนผู้เข้าชม |
แสงสว่าง
ต้นชาเป็นพืชที่ชอบแสง และเป็นพืชที่พึ่งพาคาร์บอนที่ได้จากการสังเคราะห์ โดยจะดูดคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศเปลี่ยนเป็นออกซิเจน ด้วยเหตุนี้แสงจึงมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของต้นชาอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อคุณภาพของใบชา ที่ขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงและคุณภาพของแสง
5.1 ความเข้มของแสง
หากปริมาณแสงเพียงพอจะมีผลต่อปริมาณการผลิตของใบชาทำให้ใบชาหนาและอุดมไปด้วยสารอินทรีย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมีปริมาณการสะสมของโพลีฟีนอล (Pholyphenol)มาก
5.2 คุณภาพของแสง
คุณภาพและโครงสร้างของแสงมีบทบาทสำคัญต่อกระบวนทางเคมีในการแตกใบชาใหม่ โดยทั่วไปไร่ชานิยมปลูกพืชประเภทให้ร่มเงา เพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางของแสงแดดเพราะต้นชาจะมีประสิทธิภาพในการดูดซึมแสงมาก โดยแสงอาทิตย์แบ่งออกเป็น 7 สีตามความยาวของคลื่นแสง ได้แก่ สีแดง สีส้ม สีเหลือง สีเขียว สีน้ำเงินและสีม่วง (เรียงลำดับจากยาว)
รังสีของแสงสีแดง และสีส้มเอื้อต่อการดูดซึมและการเปลี่ยนแปลงของคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำตาลในใบชาสด รวมถึงเพิ่มการสะสมของโพลีฟีนอล (Pholyphenol)
ส่วนแสงสีม่วงและสีน้ำเงินเอื้อต่อการดูดซึมและใช้ไนโตรเจน เพิ่มปริมาณของสารกรดอะมิโน(amino acid) สารคาเฟอีน (caffeine)และสารอื่นๆ ขณะที่การฉายรังสียูวี (UV) จะเอื้อต่อการสังเคราะห์สารอะโรมาติก (สารที่ทำให้พืชเกิดความหอม) ดังนั้น พื้นที่ไร่ชาที่มีสภาพแสงที่แตกต่างกันจะส่งผลถ้าชามีคุณภาพแตกต่างกันด้วย
มณฑลยูนนานตั้งอยู่ในเขตที่ราบสูง มีอากาศบริสุทธิ์ ความหนาแน่นของชั้นบรรยากาศต่ำ อัตราการส่องของแสงแดดสูง องศาของดวงอาทิตย์อยู่ในระดับสูง ช่วงกลางวันจะมีระยะเวลาในการเปิดรับแสงที่ยาวนาน นอกจากนี้มณฑลยูนนานยังมีสภาพภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน แสงสว่างเพียงพอ หมอกในช่วงกลางวันมีมากพอ ทำให้วัตถุดิบที่นำมาผลิตชาผู่เอ๋อร์ มีรสชาติที่กลมกล่อม ได้ความสดชื่นของชาที่อุดมไปด้วยสารประกอบต่างๆ